ประวัติความเป็นมา

ก่อนจะเป็น ” ตำรวจภูธรภาค 5″  ตั้งอยู่ ณ ริมถนนสายมหิดล ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กองบัญชาการแห่งนี้เคยเป็น ” กองบัญชาการตำรวจภูธร 3 “ ตั้งอยู่ริมมน้ำวัง อ.เมือง จ.ลำปาง ริมแม่น้ำวัง บริเวณที่ตั้งกองบัญชาการตำรวจภูธร 3 ดังกล่าวก่อนหน้านี้ เคยเป็นกงสุลอังกฤษประจำจังหวัดลำปางในสมัยที่เมืองลำปางเคยมีเจ้าผู้ครองนครและเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 เคยเป็นที่ตั้งของมณฑลมหาราษฎร์ ต่อมาเมื่อกงสุลอังกฤษยกเลิก ต่อมา ระหว่างในปี พ . ศ . 2484 – 2488 ที่ทำการดังกล่าวใช้เป็นกองบัญชาการทหารมณฑลพายัพสมัยเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามเสร็จสิ้นแล้ว หลังจากนั้นใช้เป็นโรงเรียนแคนเน็ตแมคแคนซี่ เป็นโรงเรียนฝรั่งของนักสอนศาสนา ( เจ้าบุญศรี ณ ลำปาง , สัมภาษณ์ )ปี พ . ศ . 2493 ทางรัฐบาลได้ติดต่อซื้อที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้างของสถานกงสุลอังกฤษ และได้รับโอนกรรมสิทธิ์จากสถานเอกอัครราชฑูตอังกฤษที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2493 เพื่อเป็นที่ทำการใหม่ของกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 1 ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นตั้งแต่ปี พ . ศ . 2481 กองบังคับการ ตั้งอยู่ในคุ้มเจ้าผู้ครองนครลำปาง ปัจจุบันคือบริเวณศาลากลางจังหวัดหลังเก่า โดยได้รับการอนุเคราะห์จาก พล.ต.ต.เจ้าราชวงศ์(เจ้าแก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) อดีตผู้บังคับการ
ปี พ . ศ . 2494 เปลี่ยนแปลงเป็น ” กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 5 “ โดยย้ายจากคุ้มหลวงมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน ๒๔๙๓ เนื่องจากอาคารหลังเก่าที่เคยเป็นกงสุลอังกฤษนั้นเป็นอาคารไม้สภาพทรุดโทรม ระหว่างปี พ . ศ . ๒๕๐๕ กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 5 ได้ทำบันทึกที่ 17 / 4341 ลงวันที่ 1 กันยายน 2505 ขอสร้างอาคารใหม่เป็นอาคาร คอนกรีต และได้รับอนุมัติทำการก่อสร้าง ผู้รับเหมา คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดปรีชาก่อสร้าง ในราคา 32,350,000 บาท(สามสิบสองล้าน สามแสนห้าหมื่นบาท) โดยรื้ออาคารเดิมและสร้างใหม่ ประกอบด้วยอาคารตึก 4 ชั้น เป็นกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 5 , ตึก 3 ชั้นด้านเหนือเป็นที่ทำการกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดลำปางและสภ.อ.เมืองลำปาง , ตึก ๒ ชั้นด้านใต้เป็นหอประชุม และมีบ้านพักผู้บังคับการ 1 หลัง บ้านพักรองผู้บังคับการ 2 หลัง สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2510 พิธีเปิดมีขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2511 โดย พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจมาเป็นประธานพิธีเปิดแพรคลุมป้ายอาคาร

1.
พล.ต.ต.เจ้าราชวงศ์ ( เจ้าแก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง )
2.
พ.ต.ท.หลวงอารักษ์ประชากร
3.
พ.ต.อ.หลวงนรสุขประเสริฐ
4.
พ.ต.อ.หลวงชาติตระการโกศล
5.
พ.ต.อ.หลวงพิชิตธุรการ
6.
พ.ต.อ.หลวงการุณธุระราษฎร์
7.
พ.ต.อ.ทวน จันทรทีประ
8.
พ.ต.อ.หลวงสรสิทธิ์เรืองเดช
9.
พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข
10.
พ.ต.ท.หลวงนิสสัย สรการ
11.
พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข
12.
พ.ต.อ.หลวงจันทรบุรานุยุตต
13.
พ.ต.อ.จง วีรยุทธิ์
14.
พ.ต.อ.มงคล จีรเศรษฐ
15.
พ.ต.อ.สุข สกุลพร
16.
พล.ต.ต.กว้าง โรหิตรัตน์
17.
พ.ต.อ.ปาน ปุณฑริก
18.
พ.ต.อ.พร้อม ณ ป้อมเพชร
19.
พล.ต.ต.ศิริชัย ไชยคุณา
20.
พล.ต.ต.บุญชัย เหราปัตย์
21.
พล.ต.ต.เทพ ศุภสมิต
22.
พล .ต.ท.พงษ์ศักดิ์ ประนุทนรพาล
23.
พล.ต.ต.ชวรวย ปริยานนท์
24.
พล.ต.ต.สุภัทร์ วีณีน
25.
พล.ต.ท.จิตต์ ลีลายุทธ
26.
พล.ต.ท.ประสงค์ ศักดิ์สุภา
27.
พล.ต.ท.สุรจิตร์ ปันยารชุน
28.
พล.ต.ท.เดช ขัตพันธ์
29.
พล.ต.ท.ผ่อน ปลัดรักษา
30.
พล.ต.ท.องอาจ ผุดผาด
31.
พล.ต.ท.นิยม กาญจวัฒน์
32.
พล.ต.ท.สมบูรณ์ สมประเสริฐ
33.
พล.ต.ท.วิชัย วิชัยธนพัฒน์
34.
พล.ต.ท.นพเก้า ธัญญศิริ
35.
พล.ต.ท.โกวิท ภักดีภูมิ
36.
พล.ต.ท.ประสาน วงศ์ใหญ่
37.
พล.ต.ท.มานิต พรประสิทธิ์
38.
พล.ต.ท.อร่าม จันทร์เพ็ญ
39.
พล.ต.ท.เจษฎางค์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
40.
พล.ต.ท.อินทเดช พรพิรพาน
41.
พล.ต.ท.ปรุง บุญผดุง
42.
พล.ต.ท.กิตติธัช เรือนทิพย์
43.
พล.ต.ท.ธีรศักดิ์ ชูกิจคุณ
44.
พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว
45.
พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม
46.
พล.ต.ท.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล
47.
พล.ต.ท.สุเทพ เดชรักษา
48.
พล.ต.ท.วันชัย ถนัดกิจ
49.
พล.ต.ท.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์
50.
พล.ต.ท.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์
51.
พล.ต.ท.มนตรี สัมบุณณานนท์
52.
พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข
52.
พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย